วันพุธที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2559


การบันทึกครั้งที่ 2 / วันศุกร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ.2559
เรียนเวลา13.30 - 17.30 น.


เนื้อหาที่เรียน  ความรู้ที่ได้รับ
     อาจารย์ให้กระดาษมา กระดาษนั้นน้อยกว่าจำนวนของคน คนมากกว่ากระดาษ อยู่ 8 คน เกิดการเปรียบเที่ยบในการหาค่าคำนวณ จำนวนตัวเลขของคนที่ยังไม่ได้กระดาษว่าต้องหากระดาษเพิ่มอีกกี่แผ่นของจำนวนคนที่ยังไม่ได้กระดาษขาดอยู่ 8 คน 8 แผ่น ให้หัวข้อการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยตามหัวข้อ
1. เด็กปฐมวัย    2. การจัดประสบการณ์   3. คณิตศาสตร์ ให้นักศึกษาทำเป็น  Mind Mapping พร้อมอธิบายหัวข้อที่จะต้องแตกออกไป  มีทฤษฎี ความหมาย หลักการ แนวทาง การเรียนรู้ เป็นต้นและให้ทำงานที่สั่งในบล็อกให้เสร็จส่งภายในวันนี้ก่อน 23.00 น.
       

ทักษะที่ได้รับ
- ทักษะจากการสร้างสถานการณ์
- ทักษะในการวิเคราะห์และสรุปเนื้อหาการเรียน
- ทักษะในการแก้ไขปัญหา

การนำมาประยุกต์ใช้
      สามารถนำเทคนิควิธีการสอนและกระบวนการคิดนี้มาปรับประยุกต์ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ได้ ทำให้เด็กมีพัฒนาการที่ดี เน้นไปทางด้านเกมการศึกษาจะช่วยฝึกกระตุ้นสมองเพื่อให้เกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ของเด็กได้เป็นอย่างดี


บรรยากาศในห้องเรียน
     บรรยากาศในห้องเรียนน่าเรียนรู้ เพื่อนๆนักศึกษาทุกคนตั้งใจฟัง ในการสนทนาตอบคำถามมีการแย่งกันแสดงความคิดเห็นที่แตกต่างออกไปทำให้เรียนแล้ว ดูไม่ตรึงเครียดและฝึกการคิดวิธีการที่หลากหลายวิธีทำให้การเรียนการสอนราบรื่นไปได้ด้วยดี

ประเมินวิธีการสอน
     การสอนของอาจารย์จะเน้นกระบวนการคิดและการวิเคราะห์พร้อมให้นักศึกษาตอบคำถามและมีการตั้งคำถามปลายเปิด สามารถให้นักศึกษาตอบคำถามของอาจารย์ได้หลายคน ทำให้มีการคิดที่แตกต่างกันออกไปและคำตอบของแต่ละคนจะไม่มีผิดหรือถูกอาจารย์จะคอยเพิ่มเสริมให้อยู่ตลอดเวลาอาจารย์สอนให้เกิดความเข้าใจที่ง่ายยิ่งขึ้นทำให้การเรียนคล่องตัวมากขึ้น

คุณธรรมจริยธรรม
- รับผิดชอบงานที่อาจารย์มอบหมายและสั่งงาน
- ตั้งใจเรียนขณะที่อาจารย์กำลังสอน
-ไม่เสียมารยาทรบกวนผู้สอนหรือผู้เรียน

การประเมิน
ตนเอง ตั้งใจฟังเวลาอาจารย์สอน ร่วมทำกิจกรรมในการเรียนการสอนเป็นอย่างดี
เพื่อน  มีความตั้งใจและให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม ไม่คุยกัน ช่วยกันตอบคำถาม
ครูผู้สอน แต่งกายสุภาพ พูดเสียงดังฟังชัดเจน 

วันศุกร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2559

วันศุกร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2559


สรุปเนื้อหาวิจัยทางคณิตศาสตร์


        ในชีวิตประจำวันเด็กก่อนวัยประถมศึกษาจะเกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์อยู๋ตลอดเวลานับตั้งแต่ตื่นนอนในตอนเช้า เด็กจะรู็จักคำว่าเช้า ซึ่งมันเป็นคำบอกช่วงเวลา เมื่อไหร่ที่เด็กจะแปรงฟันเด็กต้องสังเกต เพื่อจำแนกให้ได้ว่าแปรงสีฟันอันไหนเป็นของตน เด็กต้องสังเกตและจดจำตำแหน่งของสิ่งของ การสอนให้เด็กเกิดทักษะการเรียนทางคณิตศาสตร์ เพราะหลักการทางคณิตศาสตร์จะทำให้เด็กรู้จักคิดเป็น
ทำเป็น และ แก้ปัญหาเป็น รู้จักค้นคว้าหาคำตอบด้วยตนเอง สามารถแก้ปัญหาต่างๆในการดำรงชีวิตประจำวันและยังเป็นพื้นฐานของการเรียนรู้ในระดับต่อไป
      คณิศาสตร์มีส่วนช่วยสร้างคุณลักษณ์พิเศษให้เกิดขึ้นในตัวบุคคล คือจะทำให้เป็นคนช่างสังเกตคิดอย่างมีเหตุผล แสดงออกอย่างมีระเบียบ สามารถวิเคราะห์ปัญหาต่างๆได้ดีตลอดจนมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ อันก่อให้เกิดประโยชน์ในการนำไปใช้แก้ปัญหาในชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ คณิตศาสตร์ยังเป็นเครื่องนำไปสู่ความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี เศรษฐกิจ และสังคม 

สอนให้สอดคลองกับชีวิตประจําวัน การเรียนรู้ของเด็กจะเกิดขึ้นเมื่อเด็กมองเห็นความจําเป็นและประโยชน์ของสิ่ง ที่ครูกำลัง สอนดังนั้น การสอนคณิตศาสตร์แก่เด็กจะต้องสอดคล้องกับ กิจกรรมในชีวิต ประจำวันเพื่อให้เด็กตระหนักถึงเรื่องคณิตศาสตร์ทีละน้อย และช่วยให้เด็กเข้าใจเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ในข้ันต่อไป แต่สิ่งที่สําคัญที่สุดคือการให้เด็กได้ปฏิสัมพันธกับเพื่อนกับครูและลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง

เปิดโอกาสให้เด็กได้รับประสบการณ์ที่ทำให้ค้นพบคำตอบด้วยตนเอง เปิดโอกาสให้เด็กได้รับประสบการณ์ที่หลากหลาย และเป็นไปตามสภาพ สิ่งแวดที่เหมาะสม มีโอกาสได้ลงมือปฏิบัติจริง ซึ่งเป็นการสนับสนุน ให้เด็ได้ค้นพบคำตอบด้วยตนเอง พัฒนาความคิด และความคิดรวบยอดได้เองในที่สุด 
มีเป้าหมายและมีมีการวางแผนที่ดี ครูจะต้องมีการเตรียมการเพื่อให้เด็กค่อยๆมีพัฒนาการเรียนรู้ขึ้นเอง และ เป็นไปตามแนวทางที่ครูวางไว้
 
เอาใจใส่เรื่องการเรียนรู้และลำดับขั้น การพัฒนาความคิดรวบยอดของเด็ก ครูต้องมีการเอาใจใส่เรื่องการเรียนรู้เกี่ยวกับคณิตศาสตร์ โดยเฉพาะลำดับขั้น การพัฒนาความคิดรวบยอด ทักษะทางคณิตศาสตร์โดยจะคำนึงถึงหลักทฤษฏี
 
ใช้วิธีการจดบันทึกพฤติกรรม เพื่อใช้ในการวางแผนและจัดกิจกรรม การจดบันทึกทัศนคติ ทักษะและเพื่อใช้ในการวางแผนและจัดกิจกรรมความรู้ความเข้าใจของเด็กในขณะทำกิจกรรมต่างๆ เป็นวิธีการที่ทำให้ครูวางแผนและจัดกิจกรรมได้เหมาะสมกับเด็ก
 
ใช้ประโยชน์จากประสบการณ์ของเด็ก เพื่อสอนประสบการณ์ใหม่ในสถานการณ์ใหม่ ประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ของเด็ก อาจเกิดจากกิจกรรมเดิมที่เคยทำมาแล้วหรือเพิ่มเติมขึ้นอีกได้ แม้ว่าจะเป็นเรื่องเดิมแต่อาจอยู่ในสถานการณ์ใหม่
 
รู้จักการใช้สถานการณ์ขณะนั้นให้เป็นประโยชน์ ครูสามารถใช้สถานการณ์ที่กำลังเป็นอยู๋และเห็นได้ในขณะนั้น มาทำให้เกิดการเรียนรู็ด้านจำนวนได้
ความสำคัญของขนมอบ คือ กิจกรรมที่สามารถเชื่อมโยงกับวิชาต่างๆ เช่น เป็นความรู้ที่เป็นโอกาสให้เด็กได้คิด ศึกษา สังเกต เปรียบเทียบ ทดลอง แก้ปัญหา และเรียนรู้การทำงาน อย่างมีลำดับขั้นตอน โดยใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้าในการทำงานตลอดจนสามารถนำประสบการณ์ที่ได้รับไปใช้ในชีวิตประจำวันได้





 สรุปบทความทางคณิตศาสตร์  "รูปทรงแสนสนุก"

      ลักษณะสำคัญของการสืบเสาะหาความรู้ในกิจกรรมนี้ก็คือการตั้งคำถามเชิงวิทยาศาสตร์ เด็กๆสังเกตรูปทรงและตั้งคำถามว่า  รูปทรงแต่ละรูปทรงไม่เหมือนกันอย่างไร  สำรวจตรวจสอบรวบรวมข้อมูล เด็กๆ สังเกตในห้องเรียนว่ามีอะไรบ้างที่มีลักษณะเป็นรูปทรงเรขาคณิต หยิบรูปทรงเรขาคณิตที่รู้จักมาให้เพื่อนดูและครูแนะนำรูปทรงที่นักเรียนยังไม่รู้จัก  ตอบคำถามอ้างอิงข้อมูล สร้างคำอธิบายอย่างมีเหตุผล เด็กๆร่วมกันทำแผนภาพแยกประเภทของรูปทรงและสรุปถึงรูปทรงที่เด็กๆ รู้จักและประเภทของรูปทรงอีกครั้งนำเสนอผลการสำรวจตรวจสอบ  นักเรียนนำรูปทรงต่างๆ มาต่อเติมตามจินตนาการและนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน








สรุปแนวการสอน
หัวข้อ  สื่อการสอนคณิตคิดสนุก


      มีการจัดสื่อการเรียนการเป็นที่น่าสนใจมีสีสันสวยงาม จะมีทั้งหมด 4 บทเรียนด้วยกัน

บทเรียนบทที่ 1  จะสอนให้เด็กได้รู้จักตัวเลขแต่ละตัว เช่น การเขียน การอ่าน และ การใช้ตัวเลขในการ                            บอกปริมาณ

บทเรียนบทที่ 2 จะสอนให้เด็กรู็จักตัวเลขเพื่อใช้แทนสิ่งของมากขึ้น
บทเรียนบทที่ 3 การบวกจำนวนสองจำนวนที่มีผลบวกไม่เกิน 9
บทเรียนบทที่ 4   การลบจำนวนสองจำนวนที่มีตังตั้งไม่เกิน 9

ตัวเลขเราสามารถพบเห็นในชีวิตประจำวันทั่วไปและเด็กๆอาจได้รับประสบการณ์ตรงจากสถานที่จริง เห็นของจริง ทำให้เกิดความตื่นเต้น กระตือรือร้น เร้าใจ หรือในการเรียน มีความสุข สนุกสนาน ได้รับความรู้ ได้เรียนรู้จากการสังเกต เด็กจะเกิดทักษะภายในตัว







วันศุกร์ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2559


การบันทึกครั้งที่ 1 / วันศุกร์ที่ 8 มกราคม พ.ศ.2559
เรียนเวลา13.30 - 17.30 น.

เนื้อหาที่เรียน  ความรู้ที่ได้รับ
      
       วันนี้เรียนชั่วโมงแรกสำหรับการเรียนการสอนของวิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย อาจารย์แจกกระดาษให้กับนักศึกษาพร้อมกำหนดหัวข้อว่า กระดาษ 1 แผ่น แบ่งให้เป็น 3 ส่วนเท่าๆกัน และให้นักศึกษาเขียนจุดเด่นของตนเองลงในกระดาษแล้วส่งให้อาจารย์อ่านแล้วทายว่าคนไหน พร้อมทั้งบอกชื่อและจังหวัดที่เกิดของตนเอง และอาจารย์ถามนักศึกษาว่ามีวิธีการแบ่งกระดาษให้เพื่อนๆอย่างไร ท้ายคาบอาจารย์แนะนำเกี่ยวกับการทำบล็อคส่งในรายวิชานี้ และปล่อยให้นักศึกษาทำบล็อคส่ง

วิธีการสอน
- สอนด้วยประเด็นปัญหา
- สอนด้วยการให้นักศึกษามีส่วนร่วม

ทักษะ
- ฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์
- ฝึกทักษะการฟังและการพูด

การนำไปประยุกต์ใช้

- สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในอนาคตได้ 

บรรยากาศในห้องเรียน
- บรรยากาศภายในห้องเรียนสนุกสนาน ไม่กดดัน

คุณธรรม จริยธรรม
- ตรงต่อเวลา
- มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเอง

การประเมิน
ตนเอง ตั้งใจฟังเวลาอาจารย์สอน ร่วมทำกิจกรรม 
เพื่อน  มีความตั้งใจและให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม ไม่คุยกัน ช่วยกันตอบคำถาม
ครูผู้สอน แต่งกายสุภาพ พูดเสียงดังฟังชัดเจน